“เรื่องพระรอดน้ำต้น” กรุใต้ต้นลำใย ของวัดมหาวันลำพูน โดย “นายโบราณ”ลำพูน
โทร. 086 -9184300.

“แล้ว สอนว่า อย่าไว้ ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำ เหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์ พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือน หนึ่งใน น้ำใจคน” จากเรื่อง”พระอภัยมณี” ของท่านกวีเอก สุนทรภู่

หากจะมีใครเอ่ยถึง “พระรอด “ยอดพระเครื่องของวัดมหาวันลำพูน ทุกคนจะนึกไปถึง “พระรอด 5 พิมพ์ ที่มีกล่าวกันไว้ในหนังสือพระเครื่องโดยทั่วไป โดยลืมนึกไปว่ายังมีพระรอดพิมพ์อื่นๆอีกหลายพิมพ์ที่สนนราคาไม่แพงนัก ไว้ให้ผู้ที่สนใจได้เช่าบูชากัน พระรอดพิมพ์หนึ่งดังกล่าวนั้นก็คือ “พระรอดน้ำต้น” ทีขุดพบโดยถูกบรรจุไว้ภายในคณโฑขนาดใหญ่ ที่ภาษาถิ่นเขาเรียกกันว่า “น้ำต้น”แล้วนำไปฝังไว้ใต้ต้นลำไยในวัดมหาวันลำพูน เพื่อให้เป็นที่หมายสังเกตุไว้เมื่อยามจะขุดขึ้นมาในภายหลัง

“พระรอดน้ำต้น” หมายถึง พระรอดเนื้อดินเผาแบบหนึ่ง ที่”คุณครูอินแสง ตาบูรี” ภายหลังท่านเปลี่ยนชื่อเป์น “สันติ์ ตาบูรี “ตามผู้นำรัฐนิยมในยุคนั้น ท่านเคยเป็นครูสอนวิชาพีชคณิตในสมัยหนึ่งของโรงเรียนจักรคำคณาทรที่ผู้เขียนเคยเล่าเรียนอยู่ เป็นผู้สร้างพระรอดพิมพ์นี้ขึ้นมาในราวปี พ.ศ 2470 ตอนที่เป็นเด็กหนุ่มนั้นท่านบวชเรียนอยู่ภายในวัดมหาวันลำพูน ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากบ้านของท่านมากนัก เพียงแค่ถนนริมเหมืองจ่าแส้คั่นขวางไว้เท่านั้น
ขณะที่บวชเรียน ท่านได้เห็นสภาพของวัตถุโบราณต่างๆที่เป็นพระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป พระเครื่องและพระพิมพ์ต่างๆแตกหักเสียหาย เพราะการหัก ปลักพังของโบราณสถานอันเก่าแก่ ที่ศรัทธาชาวบ้านต่างไม่ได้เอาใจใส่เก็บรักษาไว้ให้ดีและถูกนำไปทิ้งขว้างทับถมไปในที่ต่างๆภายในบริเวณวัด เป็นที่น่าเสียดายและเกิดความสลดใจในความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง


ท่านได้มีความคิดที่จะรวบรวมเอา พระพิมพ์เก่าแก่ที่แตกหักเสียหายเหล่านั้นพร้อมกับโบราณวัตถุที่เป็นเนื้อดิน เผาอันเชื่อมั่นว่ามีพระพุทธคุณที่เข้มขลังมีคุณวิเศษบรรจุอยู่ในนั้นมาทำการ ตำ ป่น บด อัด ให้เป็นผง ผสมกับดินเหนียวเป็นเชื้อ นำไปหมักและ นวดคละเคล้าเข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน ท่านได้ยืมแม่พิมพ์พระรอดจากเพื่อนพระที่บวชเรียนด้วยกันมาลองทำการกดพิมพ์ดูเห็นว่าเข้าท่าดี จึงได้ทำพิมพ์พระที่มีลักษณะเฉพาะของท่านขึ้นมา เพื่อทำพระรอดตามที่ท่านได้ตั้งใจไว้ ค่อยๆทำ ค่อยๆพิมพ์ และทำการเผาจนองค์พระสุกได้ที่ มีหลากหลายสีสัน ได้พระรอดพิมพ์ของท่านขึ้นมามากพอสมควร การปลุกเศกนั้นก็นำองค์พระเข้าไปร่วมพิธีไว้ในพระอุโบสถที่ซึ่งมีการสวดมนตร์ ทุกวัน เช้าเย็น และหากมีพิธีสำคัญในทางพระพุทธศาสนาท่านก็จะนำเข้าไปปลุกเศกร่วมด้วย พระที่ทำขึ้นมา ท่านได้แจกญาติโยมที่สนิทกับท่านไปจำนวนพอประมาณ เวลานั้นพระรอดพิมพ์ของท่านนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายและเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป เพราะถือว่าเป็นเพียง”พระทำขึ้นใหม่”ที่พระรุ่นหนุ่มได้ทำขึ้นมาด้วยความอยากจะลองทำเท่านั้น


พระรอดพิมพ์ที่ท่านทำขึ้นมาจึงมีเหลือจำนวนมาก ท่านจึงมีความคิดว่าควรจะนำไปฝังไว้ในที่สักแห่งจะดีกว่า เผื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า จึงได้นำพระรอดที่ทำขึ้นนั้นลงบรรจุไว้ในภาชนะคณโฑ หรือที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า “น้ำต้น” ที่ง่ายแก่การเก็บรักษา องค์พระไว้ภายใน แล้วนำไปฝังใต้ร่มต้นลำไยให้เป็นที่หมายในวัด พระรอดน้ำต้นนี้ ภายหลังไ ด้ถูกขุดพบเข้าจึงเป็นที่มาของพระรอดน้ำต้นกรุต้นลำไยดังกล่าว
สำหรับเนื้อดินของพระรอดน้ำต้นนี้ เป็นเนื้อดินที่ถูกผสมผสานกับเนื้อดินของพระโบราณอันเก่าแก่ที่แตกหักผุพัง และมีเนื้อพระหลายอย่างที่แกร่งรวมทั้งพระพุทธคุณที่มีอยู่ในตัว ผสม อยู่พอดี องค์พระจึงมีความหนึกนุ่มนวลเนียน เนื้อพระจะมองดูสวยและมีความเก่าอยู่ในองค์พระป็นที่แน่นอน ให้ท่านขยายดูจากรูปก็จะเห็นเป็นเช่นว่าจริงๆ สำหรับคุณวิเศษและพุทธคุณของพระรอดน้ำต้นนี้ ปรากฎคำกล่าวขานของ บรรดา ลูกศิษย์ ที่มีพระ รอดน้ำต้นที่ท่านอาจารย์ได้มอบให้เมื่อครั้งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือม 6 เดิมจากโรงเรียนจักรคำคณาทร ลำพูน และได้ไปเป็นทหารอาสา ออกรบในสงครามเกาหลี และสงครามเวียตนาม ปรากฎว่าทุกคนแคล้วคลาด ปลอดภัยรอดพ้นจาก ภยันตรายทั้งปวงอย่างน่าอัศจรรย์ สมกับชื่อพระรอดของเมืองลำพูนจริงๆ. นับเนื่องแต่นั้นทุกคนก็เริ่มเสาะหาเก็บสะสมพระรอดกรุน้ำต้นเพราะเชื่อมั่นใน พุทธคุณที่เหมือนกับพระรอดแท้ๆอันเป็นพระรอดในฝันที่หายากแสนยาก ต่อจากนี้ไป จะเป็นภาพของพระรอดน้ำ ต้นที่ผู้เขียน นำมา แสดงให้ท่านได้ชมและศึกษากัน เผื่อจะได้จดจำไว้หากมีโอกาสพบ เห็นในสนามท่านจะได้เก็บไว้เป็นเจ้าของอย่างสบายใจต่อไป

ภาพที่ 1 เป็นพระรอดน้ำต้นองค์งามพิมพ์หนึ่งที่มีเนื้อนวลตาดูหนึกนุ่ม และมีความขลังอยู่ในองค์พระ เป็นพระ เนื้อแกร่ง ให้ท่านลองขยายภาพดู ความเก่าแก่ของเนื้อพระซึ่งมองดูเหี่ยวย่นผิดกับพระรอดที่ทำขึ้นมาใหม่อย่างสิ้นเชิง ได้นำมาแสดงให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สำหรับพุทธคุณเป็นสุดยอดเรื่องแคล้าคลาด อยู่รอดปลอดภัยนั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งไม่มีสอง ที่ไม่ต้องเอ่ยให้ยาวความ พระรอดน้ำ ต้นจึงเป็นพระรอดพิมพ์หนึ่งที่น่าสนใจและน่าเก็บไว้และเป็นพระที่น่าหวงแหนยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของ กว้าง 1 1/2 ซ.ม. สูง 2 1/2 ซ.ม. หนา 1ซ.ม. ขุดได้ในวัดมหาวันลำพูน

ภาพที่ 2 เป็นพระรอดน้ำต้นสีพิกุล ที่งามเรียบร้อย คราบกรุติดอยู่ทั่วองค์พระ มีราดำธรรมชาติ ปรากฎ อยู่เป็นที่ ๆ เป็นเสน่ห์ของพระเนื้อดินลำพูนที่ยากจะหาพระกรุอื่นๆมาเทียบเคียงความงามของเนื้อได้ ให้ท่านได้จดจำเนื้อพระลักษณะนี้ให้ดีเพื่อจะได้นำไปพิจารณาพระกรุเนื้อดินชนิดอื่นอันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเอง ขนาดกว้าง 1 1/2ซ.ม. หนา 1ซ.ม.สูง 2 1/2ซ.ม.

ภาพที่ 3 พระรอดกรุน้ำต้นมีลักษณะ คล้ายกับพระรอดแขนติ่ง องค์พระจะยาวชลูด รูปลักษณ์มองดูผอมบาง
เศียรใหญ่ เกศตุ้ม ใบหน้าจะดูโหนกนูน หน้าตาลางเลือนไม่ชัดเจน สังฆาฏิรูปลักษณ์ตกท้องช้าง งามพอดี ประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานประทับสามชั้น ลวดลายรอบข้างเป็นลักษณะขีดเป็นแท่งๆไม่นูนมาก มีก้นยื่นปรากฎให้เห็น ด้านหลังนูนอูมอิ่มพอเหมาะ มีคราบกรุที่ทำให้ดูซึ้งถึงเนื้ออันเนียนที่มีความเก่าอยู่ในองค์พระ ขนาดพระกว้าง 1 1/2 ซ.ม. หนา 1 ซ.ม. สูง 2 1/2ซ.ม.

ภาพที่4 ศิลปะในองค์พระของพระรอดน้ำต้น มองดูง่ายๆเป็นแบบพื้นเมืองที่มองดูงดงามเรียบร้อยแบบเดียวกับ ธรรมชาติอันใสซื่อ บริสุทธิ์ ไม่ยุ่งยาก มองดูให้ความรู้สึกที่สงบเย็นไม่ร้อนเร่า เกิดจากพุทธคุณอันมีพลังเร้นลับ มีความลงตัวของมันเองอย่างน่าแปลกเมื่อเราเพ่งมองดู นานๆขนาดกว้าง 1 1/2ซ.ม. หนา 1 ซ.ม. สูง 2 1/2 ซ.ม.

ภาพที่ 5 หากเราพิจารณาดูเนื้อของพระรอดน้ำต้น แม้ว่าจะเปรียบเทียบกับพระรอดแท้ๆไม่ได้ก็ตาม ความที่มีเนื้ออันเก่าของพระแท้ที่หักป่นผสมอยู่เกิดทำให้ ความมี เสน่ห์ภายในตัวขององค์พระที่ส่งประกายออกมา ทำให้เราเกิดความชื่นชอบและเชื่อมั่น ยิ่งมีคุณวิเศษคุณวิเศษที่ทุกคนต่างยอมรับกัน นับวันจะเพิ่มคุณค่าในตัวพระรอดพิมพ์นี้ให้สูงยิ่งขึ้น จึงเป็นพระรอดอีกพิมพ์หนึ่งที่จะมองข้ามผ่านไปไม่ได้แล้ว พระรอดน้ำต้นองค์นี้กว้าง 1 1/2ซม หนา 1ซ.ม สูง 2 1/2ซ.ม.

ภาพที่ 6 พระรอดน้ำต้นส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันมาก เพราะมีส่วนผสมกับเนื้อพระกรุอันเก่าแก่ จึงมี ความหนึกนุ่มของเนื้อพระให้ได้เห็น ยิ่งถูกนำไปฝังไว้ในบริเวณใต้พื้นดินของวัดมหาวันที่มีความชื้นสูงก็ยิ่งทำให้องค์พระเกิดคราบกรุตามพื้นผิว ในบางองค์มีราดำปรากฎอยู่เพิ่มเสน่ห์และความขลังให้เกิดขึ้นกับองค์พระได้อย่างประหลาด ให้ท่านพิจารณาทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระรอดน้ำต้นก็จะเห็นว่าเป็นดังที่ว่าไว้จริงๆ
ขนาดขององค์พระกว้าง 1 1/2 ซ.ม สูง2 1/2 ซ.ม หนา 1 ซ.ม.

ภาพที่ 7 พระรอดน้ำต้นที่มีความงามและสมบูรณ์แบบเช่นนี้ไม่มีที่ใดจะนำเสนอให้ท่านได้ชมอีกแล้ว แต่สำหรับ เพื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และเป็นการเผยแพร่ให้ได้รู้ซึ้ง ถึงของดีที่หายากผู้เขียนจึงขอนำมาให้ท่านได้ชมอย่างเต็มอิ่ม อันเป็นการเรียนรู้อย่างถูกต้อง เนื้อของพระรอดน้ำต้นที่แท้จริงนั้นจะต้องเป็นแบบที่แสดงไว้ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง สำหรับพุทธคุณนั้นเป็นเช่นเดียวกันกับพระรอดแท้ๆไม่ผิดเลย เพราะมีประสพการณ์จากผู้ที่มีติดตัวให้ได้รู้ ขนาดขององค์พระกว้าง 1 1/2ซ.ม. สูง 2 1/2 ซ.ม. หนา 1 ซ.ม.

ภาพที่ 8 พระรอดน้ำต้นองค์นี้มีความสมบูรณ์แบบเต็มร้อยเช่นเดียวกับพระรอดน้ำต้นองค์อื่นๆทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง ว่าแต่ท่านจะรักจะชอบองค์ใดเท่านั้น ขนาดขององค์พระกว้าง 1 1/2 ซ.ม. สูง 2 1/2 ซ.ม. หนา 1 ซ.ม.

ภาพที่ 9 พระรอดน้ำต้นกรุวัดมหาวันอีกองค์หนึ่งที่ท่านจะพลาดชมไม่ได้ ให้สังเกตุถึงรูปลักษณ์ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลังว่าเป็นเช่นไร มีความเหมือนและความต่างกับองค์อื่นๆอย่างใด หากท่านใช้ความสังเกตุและเปรียบเทียบพิจารณาดูก็จะทำให้ท่านได้เรียนรู้และเข้าใจถึงเรื่องพระกรุที่เป็นเนื้อดินเผาของพระชุดสกุลลำพูนได้เป็นอย่างดี ความกว้างของพระรอดองค์นี้กว้าง 1 1/2 ซ.ม. สูง 2 1/2 ซ.ม. หนา 1 ซ ม.


ภาพที่ 10 เป็นพระรอดน้ำต้นองค์สุดท้ายสำหรับการชมในครั้งนี้ ความสมบูรณ์เต็มร้อยไม่มีปัญหาและข้อกังขา ใดๆ ทั้งเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรง ด้านหลังของพระรอดองค์นี้ปรากฎรอยเหี่ยวย่นของเนื้อให้ได้เห็น สำหรับด้านหน้านั้นงามเรียบร้อยด้วยความเนียนของเนื้อและความเก่าอันเป็นลักษณะของพระรอดน้ำต้นนี้ขนาด ขององค์พระกว้าง 1 1/2 ซ.ม. สูง 2 1/2 ซ.ม. หนา 1 ซ.ม.


ความนิยมชมชอบพระรอดของวงการพระเครื่องมีมานานนับเป็นร้อยๆปีแล้ว เนื่องจากเป็นพระขนาดเล็ก อาราธนาติดตัวไปง่าย มีคุณวิเศษและพุทธคุณสูงเป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธากันมานานแสนนาน แต่พระรอดที่เป็น พระกรุแท้ๆนั้นเป็นพระหายากและเป็นพระกรุที่มีราคาสูงเกินเอื้อมไปแล้ว พระรอดน้ำต้นจึงเป็นพระรอดที่น่า เก็บสะสม อีกพิมพ์หนึ่งในยุคนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่พระรอดน้ำต้นทำขึ้นมามีไม่มาก ดังนั้นย่อมเป็นธรรมดาที่ของ ปลอมจะออกมา ให้ได้เข้าใจผิดกัน เรื่องพิมพ์ทรงขององค์พระนั้นพอจะทำกันขึ้นมาได้ สำคัญที่สุดก็คือเนื้อดินขององค์พระนั้นจะต้องมีความเก่าหรือมองดูแล้วเกิดความรู้สึกว่าใช่ และต้องเชื่อมั่นในตัวผู้เป็นเจ้าของที่จะแบ่งปันให้ ว่าเขามีความจริงใจโดยแท้ ไม่ใช่ดีแต่คำพูด จึงพอจะมีโอกาสได้ของดีไว้ติดตัว อย่างน้อยที่สุด ต้องมีความเข้าใจและศึกษาพระรอดน้ำต้นให้ดี จะได้ไม่ต้อง ผิดหวัง หากท่านผู้ใดมีความสนใจในพระรอดน้ำ ต้นกรุต้นลำใยวัดมหาวันลำพูน ติดต่อกับผู้เขียนได้ ซึ่งพอจะมีแบ่งปันให้ในราคาองค์ละ “ห้าพันบาท”เท่านั้น
ติดต่อได้ทางโทร. 086 -9184300หรือ โทร. 053- 530148

“ อันนินทากาเล เหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำ เหมือนดังมีดที่กรีดหิน
แม้นองค์พระปฏิมา ยังราคิน มนุษย์เดินดิน หรือจะสิ้นคนนินทา”