เกริ่นกล่าวเรื่องราวของ “มหากาพย์พื้นบ้านเรื่อง “จามเทวี กับขุนหลวงวิลังคะ”

โดย สำราญ กาญจนคูหา

เรียนท่านผู้อ่านทุกท่าน ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างเมือง”ลำพูน”หรือเมือง”หริภุญไชย”ตั้งแต่ต้นเค้าเดิม ซึ่งผู้ริเริ่มสร้างเมืองก็คือ”สุเทวะฤาษี”และ”สุกกทันตะฤาษี”กับสหายฤาษีอีกหลายตน เมื่อทำการสร้างจนแล้วเสร็จ ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องราวของ”พระนางจามเทวี”พระราชธิดาของ”พระเจ้ากรุงละโว้”ที่”สุเทวะฤาษี”ได้ทูลเชิญให้เสด็จขึ้นไปครองราชย์สมบัตืในเมือง”หริภุญไชย”โดยเสด็จไปทางเรือขึ้นไปทาง”ลำน้ำปิง” ซึ่งเป็นทางเดียวที่ใช้ในการเดินทาง ติดต่อค้าขายขึ้นล่องกันในสมัยโบราณ มีเรื่องราวของนิทานและนิยายข้างแก่งในที่ต่างๆเล่าประกอบ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าพระนางจามเทวีเสด็จโดยทางเรือนั้นเป็นเรื่องจริง จวบจนเสด็จถึงเมือง”หริภุญไชย”และทรงเป็นปฐมต้นราชวงศ์”จามเทวีวงศ์” ในเวลานั้น มี”ขุนหลวงวิลังคะ”จอมกษัตริย์แห่งชาวลัวะซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม ได้ทราบถึงความงดงามของพระนาง”จามเทวี”และได้ลอบเข้าไปชมโฉมของพระนาง จึงเกิดหลงรักในตัวพระนางขึ้น ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆมากมาย อันเป็นที่มาของตำนานและนิทานพื้นบ้านที่ได้เล่าขานสืบต่อกันมาอย่างสนุกสนานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นการง่ายแก่การอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหา ผู้เขียนจึงเขียนเป็นสำเนียงภาษาเหนือของเมืองลำพูน ผสมผเสกับภาษาไทยทางภาคกลาง เพื่อความลงตัวและคล้องจองกันตามภาษากวีศิลป์รุ่นปัจจุบัน ที่อาจจะผิดแปลกไปจากข้อบังคับไปบ้าง ผู้เขียนคิดว่าทุกอย่างคงต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตามท่วงทำนองของ ดนตรี กวีศิลป์ในความคิดของคนรุ่นใหม่ แต่ขออย่านอกกรอบมากเกินไปจนน่าเกลียด จึงคิดว่าท่านคงจะได้ติดตามต่อไป หากว่า ตัวท่านสามารถอ่านตามสำเนียงของภาษาถิ่นเมืองเหนือจะยิ่งเพิ่มอรรถรสในการอ่านได้มากยิ่งขึ้น และท่านก็จะทราบเรื่องราวต่างๆที่มีคุณค่าที่ได้ประมวลมาไว้ในมหากาพย์เรื่องนี้

ที่ผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆเหล่านั้นมาไว้ในมหากาพย์พื้นบ้าน เป็นการบันทีกเรื่องราวต่างๆเหล่านั้นไม่ให้สูญหายและเพื่อความบันเทิงของผู้อ่าน จะได้เข้าใจถึงความเป็นไปต่างๆของเมืองลำพูนในอดีต อันถือได้ว่าเป็นเกล็ดตำนานที่มีคุณค่าที่นับวันก็จะสูญสิ้นไปกับกาลเวลาซึ่งไม่มีวันอยู่รอคอยใคร คุณความดีของเรื่องมหากาพย์พื้นบ้านนี้ขอมอบอุทิศแก่”คุณพ่อคุณแม่”ผู้ให้กำเนิดและ”ครูบาอาจารย์ทุกท่าน”ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ต่างๆด้วยความเคารพ เป็นเสมือนดังดอกไม้ธูปเทียนเครื่องหอมของสูง อันเป็นสิ่งของเทิดทูนเหนือเกล้าต่างแทนดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระคุณของท่าน ตลอดชั่วนิจนิรันดร์.

ภาพที่ 1 เป็นภาพของอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ที่บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก อ.เมือง จ.ลำพูน

บทเพลง”ขุนลัวะรำพัน”เป็นบทเพลงบทหนึ่งที่ขุนหลวงวิลังคะครวญคร่ำตัดพ้อต่อว่าถึงพระนาง จามเทวี ก่อนที่จะปลิดชีพตนเอง ด้วยสะเหน้าคู่กายบนลานกว้างของยอดดอยสูง ประพันธ์โดยนาย สำราญ กาญจนคูหา


มวลหมู่ดอกไม้ เบ่งบานสลอน หมู่ภมรภู่ผึ้ง บินเฝ้าซอนไซ้
ในตึงวันนี้ บ่กึ้ดหาไผ นอกจากทรามวัย นางจ๋ามเทวี
อกข้าขุนลัวะ กึ้ดฮอดเต๋มที่ แม่นางคนดี โผดผายเต๊อะนา
บ่เกยฮักไผ เป๋นแต๊เป๋นว่า กึ้ดฮอดขึ้นมา น้อยอกหมองใจ๋
เห็นหมู่ภู่ผึ้ง เข้าซอนดอกไม้ นางกึ้ดจาใด ใคร่หู้ใจ๋หั้น
เป๋นดีขอยเปิ้น เป็นคู่ชู้กั๋น อันตั๋วเฮานั้น เคราะห์กร๋รมเป๋นใด
ชาตินี้ตึงชาติ บ่ขอฮักไผ จามเทวีมีใน ใจ๋ข้าคนเดียว
คนอื่นบ่อผ่อ และ บ่แลเหลียว ฮักนางคนเดียว ใจ๋ข้ามีอั้น .

ภาพที่ 2 เป็นภาพของ”ขุนหลวงวิลังคะบรรเลงเพลงซึง รำพึง รำพันถึง”พระนางจามเทวี”ที่ตนหลงรัก .ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่.

 

มหากาพย์พื้นบ้าน เรื่อง “จามเทวี กับวิลังคะราช” ตำนาน เมืองหละปูน โดย นาย สำราญ กาญจนคูหา.

1. สิบนิ้วประณม ง้อมก้มเก๋ศี ไหว้ลงตั้ดที่ องค์พระธาตุเจ้า
พระพุทธธรรมสงฆ์ พ่อแม่เก๊าเหง้า เอกองค์แม่เจ้า นางจ๋ามเทวี
ครูบาอาจารย์ สั่งสอนก่อนนี้ พระคุณเปิ้นมี อยู่ตลอดมา
2. รวมทั้งผู้หู้ เขียนตำนานว่า เปิ้นค้นคว้ามา หื้อเฮาหู้นี่
ตึงปราชญ์คนหลวก ส๋วกหาถ้วนถี่ ต๋ำฮาจึ่งมี ต่อเนื่องกั๋นมา
เผยแพร่หื้อหู้ ภูมิหลังศึกษา ที่ไปที่มา เป๋นว่าอย่างใด
3. ละอ่อนรุ่นหลัง บ่เฮียนหู้ไว้ วันหน้าสืบไป ก็จักหายเสี้ยง
ตำนานบ่ะเก่า บ่ควรหลีกเลี่ยง หาทางร้อยเรียง สืบหู้กันไป
ช่วยกั๋นเฮียนหู้ ศึกษาด้วยใจ๋ ค้นคว้าต่อไป เรื่องเก่ามากมี
4. มาสนใจ๋เต๊อะ เรื่องบ่ะเก่านี้ ส็วกกั๋นถ้วนถี่ ของดีมีหั้น
ของดีมีหลาย ในใบลานนั้น ช่วยคัดกรองกั๋น บันทึกเก็บไว้
ทำก๋ารศึกษา ช่วยกั๋นขยาย หื้อหู้กั๋นไป ทั่วในโลกกว้าง
5. เฮาผ่อต่างชาติ บ้านเขาใหญ่หลวง เข้ามาตักตวง เอาของเฮาไป
ตั๋วอย่างมีแล้ว บ่ใช่ไผไหน “เยอรมัน”ยิ่งใหญ่ ยังเอาไปหั้น
เป๋นผู้เชี่ยวชาญ สอนตั๋วเมืองกั๋น ของดีเฮานั้น เขาเยียะอย่างใด
6. เก็บเอาของดี บันทึกเข้าไว้ “ไมโครฟิล์ม”ใช้ เอาใส่ในหั้น
มีตึง”จีน”แขก” “ญี่ปุ่น”เขานั้น เขามาเอากั๋น ของดีเฮาไป
เฮียนหู้ไว้เต๊อะ ช่วยกั๋นใส่ใจ๋ ภูมิหลังเป๋นใด ในใบลานหั้น
7. ปราชญ์เปิ้นจ๋านไว้ หื้อส็วกหากั๋น หลายอย่างสิ่งอัน อยู่กั๋นในนี่
อันตั๋วข้าน้อย ด้อยแฮงกว่าที่ ปัญญาที่มี จะส็วกเอาได้
แต่จักขอเขียน เป๋นบันทึกไว้ หื้อคนทั่วไป ผ่อไว้ตางหน้า
8. หู้กั๋นเอาไว้ ต๋างเพื่อศึกษา เรื่องความเป๋นมา ของบ้านเฮานี่
กอนว่าอ่อนด้อย ขอกล่าวแนะชี้ แก้ไขหื้อดี จักเป๋นบุญข้า
เรื่องที่จะเล่า บ่ใช่ต๋ำฮา เป๋นเหมือนดังว่า ต๋ำนานเทวี
9. เล่าเป๋นค่าวเครือ ฟังม่วนดีหลี หื้อท่านได้มี ความสุขตวยมา
เรื่องเก่านักหลาย ส็วกค้นเสาะหา เฮาจึงได้มา รวมไว้ในนี่
เล่าหื้อกั๋นฟัง แง่มุมถ้วนถี่ หื้อเป๋นสักขี เผื่อไว้ปายหน้า
10. กอนบ่ เล่าไว้ บ่เนิ่นนานช้า บ่เหลือหยังมา หื้อเฮาหู้เลย
กอนมีผิดพลาด บ่ดีนิ่งเฉย โปรดจงเอื้อนเอ่ย ขอหื้อบอกมา
ช่วยกั๋นแก้ไข ทุกกระบวนท่า เพื่อจะได้มา ซึ่งความสมบูรณ์
11. เขียนเรื่องนี้ไว้ บ่หื้อหายสูญ เผื่อไว้ปายลูน ค้นเอาความได้
ละอ่อนรุ่นหลัง จักได้เข้าใจ๋ ถึงความเป๋นไป ของบ้านเมืองเฮา
จะได้ขางไว้ ต๋ำราของเก่า เพื่อที่หมู่เขา สืบค้นเปาะไป
12. ในท้ายที่นี้ ขอวอนเทพไท้ ได้โผดอวยชัย จาวหมู่บ้านเฮา
หื้อมีความสุข เจริญกว่าเก่า ความทุกข์โศกเศร้า จงสูญสิ้นไป
ขอหื้อติดต๋าม ต๋ำนานยิ่งใหญ่ สวัสดีมีชัย มีทั่วทุกคน

บทเกริ่นนำ

1. จักขอขยาย บรรยายกล่าวชี้ ต๋ำนานเปิ้นมี ม่วนดีแต๊ว่า
เป๋นเรื่อง”ฤาษี” เปิ้นมีเมตต๋า แป๋งเมืองขึ้นมา หื้อคนอยู่กั๋น
“พันสี่ร้อยปี๋” ที่ผ่านไปนั้น บ้านเมืองสุขสันติ์ ผู้คนยินดี
2. ผ่านตึงร้อนหนาว บางคราวสุขขี ตึงร้ายตึงดี มันมีกั๋นหั้น
ธรรมดาของคน ควรจะอดกลั้น จิตใจ๋คงมั่น หมั่นทำความดี
บ่ดีประมาท อยากเป๋นเศรษฐี เก็บออมหื้อดี มั่งมีเน้อเจ้า
3. เติงเวลาแล้ว แก้วโฉมเฉลา เชิญแม่นงเยาว์ เฮาฟังกั๋นได้
เล่าเรื่องม่วนม่วน กอนว่าถูกใจ๋ ตั๋วเฮานั้นไซร้ ก็จักยินดี
ฟังกั๋นเต๊อะน้อง แม่เลาโฉมศรี เรื่องราวมากมี หื้อฟังจ๋นเสี้ยง

ภาพที่ 3 เป็นภาพของวาสุเทพฤาษีผู้คิดสร้างเมืองหริภุญไชย ประดิษฐานที่วัดพระธาตุดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อ.หางดง เชียงใหม่

1.“วาสุเทพฤาษี”

1 ในก๋าละนั้น มี”พระดาบส” บำเพ็ญเพียรพรต บน”ดอยอ้อย”หั้น
เป๋นคนบ่ะเก่า เก๊าเหง้าท่านนั้น “จาวลัวะละว้า” อยู่มาแต่เมิน
“สุเทพฤาษี” ผู้คนสรรเสริญ ตั๋วท่านจำเริญ ด้วยมีฤทธิ์กล้า
2 เสวยเป๋นสุข บนดอยหินผา นั่งภาวนา สัตว์ป่ามาห้อม
“หมี”เสือ”ช้าง”สิงห์” “กระทิง”แรด”พร้อม อาศัยแวดล้อม บรรณะศาลา
เก๊าไม้ใหญ่หน้อย หลายพันธุ์พฤกษา ออกผลดาษดา นกก๋ามาต้อม
3 อยู่มาวันหนึ่ง “ฤาษี”เดินด้อม จ๋นเข้าไปใน พงไพรป่าลึก
ด้วยความม่วนใจ๋ แต่ต้องหยุดกึ๊ก ดังอึกทึก เสียงใสไห้จ้า
เสียง”ละอ่อนหน้อย” ลูกของไผหวา จึงรีบไคลคลา เข้าหาผ่อใกล้
4 เป๋นละอ่อนหน้อย ในฮอยสัตว์สิ่ง “แรด”ช้าง”กระทิง” นอนกลิ้งในหั้น
มีกั๋นหลายคู่ “ฤาษี”นิ่งอั้น กึ้ดในใจ๋ ถาม จะเยียะอย่างใด
บ่เกยมีลูก ปลูกฝังกับไผ จะเยียะจาใด บ่าไหวละข้า
5 ต้องเอาไปเลี้ยง หื้อเสี้ยงปั๋ญหา ใช้ภูมิปัญญา เลี้ยงเขาหื้อได้
เป๋นใดเป๋นกั๋น กูต้องทำใจ๋ ทำบุญตวยไป เลี้ยงใหญ่ขึ้นมา
กอนละเขาไว้ เฮาเป๋น”สิทธา” จักเป๋นบาปหนา ติดตั๋วเฮาไป
6. ว่าแล้ว”ฤาษี” ผู้มีฤทธิ์หลาย จึ่งรีบขะใจ๋ เสกด้วยมนตรา
บังเกิดนมย้อย ปล๋ายนิ้วหัตถา น้ำนมออกมา เลี้ยงหมู่เขาได้
ผ่านไปหลายปี๋ บรรดาหน่อไท้ ต่างก็เติบใหญ่ เป็นผู้คนมา
7. ที่อยู่คับแคบ แสบใจ๋ของข้า คนนักขึ้นมา เกิดปั๋ญหาใหญ่
ความเป๋นมนุษย์ หรือคนนั้นไซร้ อันว่าจิตใจ๋ มากด้วยมายา
กิ๋นก็ลู่กั๋น อยู่ก็ขางกั๋น นักขึ้นตึงวัน ผิดกั๋นก๋วนข้า
8. อยู่บ่เป๋นสุข ตุ๊กใจ๋แต๊ว่า ขัดกับพรหมา ศิลแตกแม่นมั่น
กึ้ดหาหนทาง หื้อเขาไปกั๋น แยกจากเฮานั้น ค่อยเป๋นค่อยไป
จักต้องแป๋งเมือง ตั้ดที่หนไกล๋ หื้อหมู่เขาไป อยู่กั๋นที่หั้น
9. จัดแยกเป๋นส่วน เป๋นกระบวนนั้น หมู่ไผหมู่มัน ป๋นกั๋นบ่ได้
ชายคู่กับหญิง สมจริงเหมาะใจ๋ เขาอยู่กั๋นได้ ความสุขเกิดพลัน
จะเอาอย่างใด ดั่งใจ๋เฮานั้น ต้องปรึกษากั๋น กับเพื่อน”สิทธา”
10. รำลึกขึ้นได้ ไต่ขึ้นบนผา ผ่อไปตางหน้า ผืนฟ้าตางใต้
เป๋นที่กว้างลึ้ง ชัยภูมิเหมาะใจ๋ แผ่นดินกว้างใหญ่ พอใจ๋ ล่ะข้า
“กวง” ปิง” วันออก กับน้ำสาขา เป๋นน้ำใหญ่มา “สาน” ทา” รวมไป
11. ดินน้ำสมบูรณ์ เกื้อหนุนคนไว้ เกษตรเยียะไป กิ๋นใช้ เกื้อกูล
เป๋นที่เหมาะแล้ว หลายสิ่งนำหนุน ทุกอย่างค้ำจุน แป๋งเมืองขึ้นได้
กึ้ดอย่างรอบคอบ ผ่ออย่างกว้างไกล๋ ในความเป๋นไป ได้ก๋ารละข้า
12. จึงหลับดวงเนตร แผ่จิตเมตต๋า “รุกขเทวา” ขึ้นมาอยู่หั้น
“รุกขเทวา” ถาม”ฤาษี”ท่าน มีอะหยังกั๋น ขอหื้อบอกมา
ข้าช่วยเยียะได้ บ่ใช่ปั๋ญหา เอ่ยคำบอกข้า ช่วยเยียะกั๋นไป

2.“วาสุเทพฤาษี”วานขอ”รุกขเทวา”นำสาส์นไปแจ้งแก่”สุกกทันตฤาษี”ผู้เป็นสหายยัง”เมืองละโว้”ขอเชิญมาปรึกษาเรื่องของการสร้างเมืองใหม่

13. ตั๋วของ”มุนี” สุดที่ดีใจ๋ ประณมมือไหว้ “รุกขเทวา”
อันตั๋วข้านี้ จักส่งสาส์นหา ไปหื้อเพื่อนยา อยู่ตางเมืองใต้
เชิญเปิ้นมาปะ ปรึกษากั๋นไว้ เชิญมาหื้อได้ แป๋งเมืองช่วยข้า
14. ว่าพลางเขียนสาส์น ความนัยมีว่า เพื่อนจุ่งเมตต๋า มาปะข้านี้
จะขอท่านช่วย แป๋งเมืองถ้วนถี่ บรรดาเรื่องมี หลวงหลายแต๊ว่า
เรื่องลูกเรื่องหลาน มันก๋วนใจ๋ข้า จึงขอเมตต๋า ช่วยเพื่อนกำนี้
15. เป๋นเรื่องอิดใจ๋ หนักหัวสุดที่ ขอเพื่อนจุ่งมี อันความขูณา
ฝากจดหมายหน้อย ใส่ความดังว่า “รุกขเทวา” ถึงท่าน”มุนี”
ไว้ปะกั๋นก่อน จะได้กล่าวชี้ บรรดาเรื่องมี หื้อเพื่อนเฮาฟัง
16. เขียนสาส์นเสร็จสรรพ สมใจ๋ดังหวัง ใส่บอกไม้พลาง ยื่นหื้อ”เทวา”
ยินดีท่านแต๊ ช่วยแก้ปัญหา นำสาส์นของข้า ไปหื้อ”มุนี”
ยังเมือง”ละโว้” แดนไกล๋สุดที่ “สุกกฤาษี” เป๋นนามเพื่อนยา
17. บอกหื้อเปิ้นเต๊อะ ว่าสาส์นจากข้า ขอเปิ้นเมตต๋า ช่วยข้าหนนี้
อันตั๋วของท่าน เดินทางสุขขี โดยสวัสดี ปลอดภัยนานา
ตึงไปและปิ๊ก บุญช่วยฮักษา ด้วยแฮงศรัทธา จุ่งรอดปลอดภัย
18. ข้างฝ่าย”เทวา” บอกลาท่านไท้ แล้วจึงล่องไป ตาง”ปิง”นที
ลอยตวยน้ำไป ด้วยใจ๋สุขขี สองฝั่งนที งามต๋าบ่หน้อย
งามล้ำสัตว์สิ่ง หรีดหริ่งเรียงร้อย สองข้างภูดอย พงไพรป่าลึก
19. สายน้ำซัดซ่า หินผาแก่งลึก เสียงดังคึกคึก ลีลาน่าฟัง
พื้นน้ำหมู่ปล๋า ว่ายมาเรียบฝั่ง เวียนวนน้ำวัง ผ่อช่างอ้อยสร้อย
ธรรมชาติงามล้ำ ฉ่ำใจ๋สุดซ้อย ยากจะหาถ้อย ใดมารำพัน
20. วันคืนผ่านไป บ่กลับคืนผัน บ่หู้คืนวัน อันมาปายหน้า
จ๋นในที่สุด ด้วยอุตสาหา เข้าเขตพารา เมืองฟ้าตางใต้
มาถึงท่าน้ำ บ่ล้ำไปไกล๋ สุดจะดีใจ๋ “สำนักสิทธา”
21. รอถ้าเปิ้นก่อน อิดอ่อนเมื่อยล้า พักผ่อนก๋ายา คอยถ้าท่านเจ้า
จับดีวันนั้น “ฤาษี”ตื่นเช้า เปิ้นลงจากเขา ตรงไปยังท่า
ก่อนจะสรงน้ำ เปิ้นถามไปว่า “ตั๋วเทวาท่าน” ไปไหนมานี่
22. ข้างฝ่าย”เทวา” เห็นท่าน”ฤาษี” จึงเอ่ย วจี๋ เท่าที่ข้ามา
“สุเทวะ”ท่าน มีเรื่องปรึกษา จึ่งหื้อข้ามา หาท่านถึงที่
มีจดหมายหน้อย บรรยายกล่าวชี้ เรื่องราวอันมี อยู่ที่ในหั้น
23. พลางยื่นบอกไม้ ใส่”หนังสือ”นั้น หื้อ”ฤาษี”ท่าน ออกอ่านทันที
“ฤาษี”เปิดอ่าน เข้าใจ๋ถ้วนถี่ “สุเทพ”เพื่อนมี ก๋านใหญ่รอถ้า
อันตั๋วเพื่อนเฮา มีเรื่องปรึกษา เปิ้นจะหื้อข้า ไปหากล่าวชี้
24. ขอหื้อถ้าก่อน งานค่อนตางนี้ กอนก๋านแล้วดี จะไปเร็วพลัน
รอแห๋มเจ็ดวัน ก่อนงายวันนั้น ค่อยไปปะกั๋น จะขึ้นไปหา
ย้ำสั่งเทพไว้ หื้อบอกเปิ้นว่า ขอหื้อรอถ้า ไปหาแน่เจ้า
25. เจ็ดวันผ่านไป วันใหม่รุ่งเช้า “สุเทวะเจ้า” เฝ้ารอเวลา
รอเพื่อนคู่คิด มิ่งมิตรมาหา ช่วยแป๋งปารา ขึ้นมาหื้อได้
เติงเวลาแล้ว ข้าคงสมใจ๋ ขึ้นเหาะซานไป เร็วไวบ่ช้า
26. ครั้นซานไปถึง กึ่งกล๋างเวหา “สุกกทันต๋า” เหาะมาถึงหั้น
จึ่งได้พานพบ ประสบกั๋นนั้น สหายสองท่าน สุดแสนปรีดา
ทักทายกั๋นแล้ว ลงจากบนฟ้า จึงรีบไคลคลา เข้าหาร่มไม้


ภาพที่ 4 เป็นภาพของสองสหายฤาษี “วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตะฤาษี”กำลังปรึกษาที่จะสร้างเมือง”หริภุญไชย”

3. ”วาสุเทพฤาษี”และ ”สุกกทันตฤาษี” ได้พบกันเพื่อปรึกษาหารือหาชัยภูมิที่จะสร้าง”เมืองหริภุญไชย”

27. ได้อู้จ๋ากั๋น ถ้อยทีอาศัย สุขตุ๊กเป๋นใด ถามไถ่เฮฮา
เฮาจักค่อยแป๋ง แต่ต้องปรึกษา ขอเพื่อนเมตต๋า ช่วยข้าเตื้อนี้
ของ”หลมผะหยา” “มหาฤาษี” ท่านมีฤทธี หู้ก๋านตางหน้า
28. “สุกกะ”ไค่หัว อย่า ยอตั๋วข้า จ๋ำเป๋นต้องมา ย้อนเพื่อนตั๋วดี
ผ่อไปโดยรอบ ชัยภูมิดีหลี ตั๊ดนี่ต้องมี “เจ้าที่”ฮักษา
จึงหลับดวงเนตร แผ่ณเมตต๋า “เจ้าที่”โผดมา หื้อหันถ้วนถี่
29. ปรากฎ”องค์เทพ” มีอยู่แต๊นี่ ที่อยู่บ่มี เดือดร้อนแต๊ว่า
“สุกกฤาษี” บอกแก่เทวา หื้ออยู่ฮักษา สถานที่นี่
ในทันใดนั้น “สุกกฤาษี” เสก”เทพกุฎี” ขึ้นยังเบื้องหน้า
30 สิง อยู่ประจ๋ำ ช่วยผ่อฮักษา กราบไหว้บูชา เป๋นองค์อยู่หั้น
เอ่ยกับสหาย ในปายหน้านั้น ตั๊ดเฮาอยู่กั๋น จักเป๋น”วัดวา”
“พระคงฤาษี” หมู่คนเสาะหา ของดีล้ำค่า กำเปิ้นว่าอี้
31 เหตุความสำคัญ มันเป๋นจะนี้ ข่ามคงจ้าดดี หมู่เขาอยากได้
พระคงข่ามนั้น ชื่อเสียงก้องไก๋ล หู้กั๋นทั่วไป ดังไปทั่วหล้า
สองพระดาบส อดใจ๋รอถ้า พักผ่อนก๋ายา หาเหตุนำชี้

4. “สุกกทันตะฤาษี” ทำการขุดดินตรงใจกลางเมืองขึ้นมาสามก้อนเพื่อหารหัสเหตุและไขปริศนาว่าจะเป็นเช่นใด

32. เอ่ยอู้ขึ้นมา ว่าตะก่อนนี้ พุทธเปิ้นมี กำดีว่าไว้
ต่อไปตั๊ดนี่ จักเป๋น”เมืองใหญ่” “หริภุญไชย” งามใสปายหน้า
“เป๋นเมืองพระธาตุ” “ห้างบาตรพุทธา” “พุทธฮักษา” “เมืองของฤาษี”
33. “สุกกทันต๋า” มหามุนี เอาไม้เท้าชี้ ขุดดินขึ้นมา
ได้”ดินสามก้อน” เป๋นที่แปลกต๋า จึ่งเก็บขึ้นมา วางบนผ้าหั้น
เล็งผ่อด้วยญาณ เชี่ยวชาญกล้านั้น ต้องมีหยังกั๋น ซ่อนมาในที
34. จักต้องขานไข ความนัยอันนี้ ประจักษ์ใจ๋มี ว่าเป๋นฉันใด
“ดินก้อนที่หนึ่ง” แกะออกวางไว้ มี”แก้ว”อยู่ใน งามใสต้องต๋า
“ดินก้อนที่สอง” บ่ได้รอช้า ครั้นแกะออกมา “ถ่านดำ”มีหั้น
35. “ดินก้อนที่สาม” ค่อยแกะออกกั๋น เป๋น”ข้าวลีบ”อัน ใช้ก๋านบ่ได้
ได้เวลาแล้ว จึงรีบขานไข “ปริศนาความนัย” เป๋นอย่างใดกั๋น
จึงทำนายว่า อัน”นคร”นั้น เปิ้นปกครองกั๋น โดย”พระราชา”
36. แบ่งเป๋น”สามยุค” มี”สุข”ตุ๊กขา” “พอดี”เป๋นมา เปิ้นว่าอย่างอี้
ก๋าลใด”ราชา” บ่มธรรมนำชี้ บ้านเมืองจักดี เป๋นสุขถ้วนหน้า
สุกใสดังแก้ว ผ่องแผ้วงามต๋า เปิ้นพรรณณา “หนึ่ง”เป๋นอย่างอี้
37. กอนเป๋น”ยุคสอง” ศีลธรรมหมองศรี พอร้ายพอดี ท่าทีอ้อยสร้อย
ขวัญของจาวบ้าน ถิ่นฐานอ่อนด้อย บ่ต๋ามฮีตฮอย ถดถอยตางหน้า
เป๋นเหมือน”ถ่านไม้” ดำมืดนาถา เศร้าหมองแต้ว่า ผ่อท่าบ่ดี
38. อัน”ยุคที่สาม” คุณธรรมหลีกลี้ “ราชา”บ่มี คุณความดีนั้น
ปวงชนเดือดร้อน ร้อนไหม้อกกั๋น นั่งเจ่า งงงัน อกสั่นถ้วนหน้า
เป๋นเหมือน”ข้าวลีบ” หมดสิ้นคุณค่า เก็บไว้ปลูกนา บ่ได้กิ๋นมัน
39. จบคำ”ฤาษี” ไขสามเหตุนั้น ถามสหายพลัน จักเอาฉันใด
จักแป๋ง บ่ แป๋ง บ้านเมืองต๋ามใจ๋ ตางหน้าเป๋นไป มีนัยยะอี้
สุเทวะท่าน เอ่ยตอบทันที กอนเป๋นอย่างอี้ บ่มีปั๋ญหา.
40 เฮาตั้งใจ๋แล้ว ด้วยปรารถนา จะแป๋ง”พารา” ขึ้นมาหื้อได้
จะเยียะอะหยัง บ่าดีถอดใจ๋ แป๋งไปผ่อไป หู้กั๋นตางหน้า
หลายสิ่งหลายอย่าง ตั้งใจ๋ใฝ่หา ทุกข์ยากจะมา หื้อมันหู้ไป
41. เฮากึ้ดดีแล้ว บ่ต้องกลั๋วไผ จะเป๋นอย่างใด เป๋นไปต๋ามนั้น
กอนเริ่มต้นดี บ่ดีไหวหวั่น แก้ไขโดยพลัน เยียะมันจ๋นได้
ดีพ่องฮ้ายพ่อง คละเคล้ากั๋นไว้ บ่ต้องตุ๊กใจ๋ มันเป๋นจะอี้
42. ตัดสินใจ๋แล้ว สหายฤาษี กำกึ้ดเฮามี แป๋งเมืองหื้อได้
ขอบใจ๋ท่านนั้น ที่ได้ขานไข ปริศนาความนัย มีในดินหั้น
เฮาจักเตรียมตั๋ว ร่วมใจ๋ตวยกั๋น ด้วยความมุ่งมั่น กับสหายข้า
43. ทั้งสอง”ฤาษี” ตกลงเดินหน้า แป๋งเมืองขึ้นมา ตางหน้าเป๋นไป
“สุกกทันต๋า” เป็นกึ้ดขึ้นได้ “ศรีสัชนาลัย” เมืองไกล๋เพื่อนข้า
“อนุสิษฏ์ฤาษี” ช่างใหญ่แนวหน้า เก่งงานโยธา แป๋งเมืองอยู่ดี
44 สัณฐาน”เกล็ดหอย” เปิ้นกอยแนะชี้ เมืองเปิ้นเหมาะดี มีสุขถ้วนหน้า
เฮาควรแป๋งอย่าง ผังเมืองเพื่อนข้า เป๋นแบบพารา เมืองฟ้าตั้ดนี่
จักได้จำเริญ รุ่งเรืองสุขศรี กิ๋นดีอยู่ดี มีความก้าวหน้า
45. จะเยียะอย่างใด เพื่อนฮักของข้า ของก๋านได้มา อันผังเมืองนี้
บ่าใช่เรื่องยาก เฮามีวิธี ขอคำแนะชี้ ไปหาเพื่อนยา
จะพึ่งพาเขา เฮาต้องไปหา ขอคำปรึกษา แป๋งเมืองหื้อดี


5.”สุกกทันตะฤาษี”พา”วาสุเทพฤาษี”ไปขอคำแนะนำและดูผลงานของ”อนุสิษฏ์ฤาษี”ยัง”เมืองศรีสัชนาลัย”และขอผังเมืองเพื่อเอามาเป็นแบบสร้างพระนครแห่งใหม่ตามความตั้งใจ

46. ตกลงกั๋นแล้ว ทั้งสองฤาษี เดินทางไปที่ “ศรีสัช”เมืองนั้น
ก็ได้พานพบ “อนุสิษฏ์”ท่าน ต้อนรับจ๋ากั๋น ด้วยความยินดี
เจ้าบ้านถามว่า ท่านมาหนนี้ ก๋านอันใดมี ขอบอกหื้อข้า
47. “สุกกทันต๋า” ได้ตอบไปว่า “สุเทพ”เพื่อนข้า จะสร้างธานี
จักขอท่านช่วย แนะนำกล่าวชี้ ผังเมืองที่ดี ของท่านมีหั้น
“อนุสิษฏ์”ไค่หัว อันตั๋วข้านั้น พร้อมจะแบ่งปั๋น สรรค์สร้างสิ่งดี
48. บ่ะต้องเดือดร้อน พักผ่อนก่อนนี้ เกษมเปรมปรีดิ์ แล้วค่อยว่ากั๋น
“อนุสิษฏ์ฤาษี” น้ำใจ๋หลายนั้น ชี้แจงโดยพลัน เรื่องแป๋งพารา
บ่ใช่เรื่องยาก บ่เป๋นปั๋ญหา ผังเมืองนั้นกา ข้าตึงหื้อได้
49. ใจ๋เย็นกั๋นก่อน พักเอาแฮงไว้ กึ้ดไปผ่อไป ศึกษาเมืองข้า
เอาไว้ปรับปรุง แป๋งกรุงปายหน้า หื้อจาวพารา อยู่กั๋นสบาย
ขอเวลาน่อย ตกแต่งขยาย หื้อเข้าใจ๋ง่าย ดูดีเป๋นท่า
50. คิดคำนวณก่อน แล้วบ่รอช้า จัดส่งด่วนจ๋า ไปหื้อทันที
เข้าใจ๋กั๋นแล้ว กล่าวลา”ฤาษี” มิตรผู้อารีย์ ปิ๊กกั๋นก่อนหั้น
“อนุสิษฏ์ฤาษี” จัดเตรียมก๋ารนั้น “หัสดิลิงก์”ไปพลัน คาบ”เกล็ดหอย”มา
51 .คำณวนวางแปลน แผนผังเหมาะต๋า เหมาะสมเข้าท่า บ่หื้อว่าได้
หลายวันผ่านพ้น เป๋นที่พอใจ๋ ทุกอย่างแก้ไข ลงตั๋วถูกท่า
จัดก๋ารสั่ง”นก” ไปยังเพื่อนข้า นำผังพารา หื้อเพื่อนข้าที
52. รูปทรงสัณฐาน มีอยู่ในนี่ ระวางเปิ้นมี ในผังหั้นนา
“นกใหญ่”หู้กำ บินขึ้นสู่ฟ้า บินตรงมุ่งหน้า ยัง”สองฤาษี”
จับบนไม้ใหญ่ วันตกนที “แม่ระมิงค์”นี้ “ฤาษี”มีหั้น
53. วาง”เกล็ดหอย”ลง พร้อม”ระวาง”นั้น บอกลาโดยพลัน บินกลับลับไป
สหายทั้งสอง สุดที่ดีใจ๋ ผังเมืองก็ได้ แล้วใจ๋ละข้า
ช่วยกั๋นผ่อแล้ว “สุกกทันต๋า” วางผังพารา ลงณที่หั้น
54 .กำหนดทิศทาง “วันออก”เมืองนั้น “แม่น้ำปิง”กั้น ตั๋วเมืองเอาไว้
เป๋นกำแพงน้ำ กั้นเขตดังใจ๋ “เหนือ”ตก”ตางใต้” แป๋งเพิ่มขึ้นมา
ผังเมืองลงตั๋ว ถูกต๋ามทิศศา พอใจ๋แต๊ว่า ตกลงเอาอั้น
55. ขยายหื้อใหญ่ เต๋มที่หมายมั่น ทรงสัณฐานนั้น ต๋ามกำหนดมา
บริเวณโดยรอบ ขอบเขตเมืองว่า “สามพันกว่าวา” เป๋นว่าแล้วหั้น
จะนักไปน่อย จะหน้อยไปนั้น บ่ดีว่ากั๋น ด้วยกะคะเณ
56 .วางหื้อถูกทิศ บ่ดีหันเห เหมาะแก่ทำเล ที่กำหนดมัน
ไม้เท้าขีดลง วงขอบหอยนั้น เป๋นแนวเขตกั้น ขัณฑสีมา
อัศจรรย์กำแล้ว ในชั่วพริบต๋า กำแพงพารา ขึ้นมารอบเมือง


ภาพที่ 5 “วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตะฤาษีกำลังเนรมิตเมือง “หริภุญไชย โดยมีแม่แบบที่เป็นแผนผังรูปหอยสังข์ที่อนุสิษฏ์ฤาษีใช้ให้นกหัศ ดิลิงค์คาบมาจากเมืองศรีสัชนาลัย.อันอยู่ห่างไกลโพ้น

6.”วาสุเทพฤาษี”และ”สุกกทันตะฤาษี”ช่วยกันสร้างเมืองจนแล้วเสร็จ

57. คูน้ำรายล้อม ปราก๋ารต่อเนื่อง มลังเมลือง ลานหลวงใหญ่หน้อย
งามล้ำปราสาท ราชวังเรียบร้อย มณเฑียรหอคอย เหมือนลอยจากฟ้า
งามตึงดอกไม้ อุทธยานลานต๋า โรงช้างโรงม้า ยายมาอยู่หั้น-
58. มีโรงทหาร โรงงานใหญ่กั๋น คลังเสบียงพร้อมพลัน เป๋นเขตหวงห้าม
ที่อยู่อาศัย เรียงรายเหมาะล้ำ มีของขายกั๋น ม่วนงันก๋ารค้า
ขายตึงของกิ๋น จิ้นผักข้าวปล๋า สิ่งของนานา มีมาบ่อั้น
59. อยู่ดีมีสุข บ่ทุกข์บ่กั้น ทุกคนเป๋นกั๋น สุขสันติ์อุรา
“สุเทพฤาษี” ม่วนใจ๋แต๊ว่า ลูกหลานของข้า เข้ามาอยู่หั้น
แบ่งกั๋นไปทั่ว บ่หื้อค่อนกั๋น ของไผของมัน ดีกั๋นถ้วนหน้า
60. บ่ได้เดือดร้อน ผิดกั๋นดังว่า ทั่วทั้งพารา ว่ากั๋นบ่าได้
หื้อมีอาชีพ ประจำกั๋นไว้ ไผเก่งตางใด เยียะเอาอย่างอั้น
วางข้อระเบียบ มีกฏหมายกั๋น อยู่ในกรอบมัน ทำผิดบ่ได้
61. ตั้งผู้ปกครอง บ้านเมืองเอาไว้ ทำงานกั๋นไป เพื่อความก้าวหน้า
บ้านเมืองจะสุข หรือว่าทุกข์ขา ตั๋วคนนั้นนา ว่าเยียะอย่างใด
กอนเยียะดีแล้ว บ่ต้องกลั๋วไผ ทำดีปลอดภัย พอใจ๋ทั่วหน้า
62. แป๋งเมืองเสร็จแล้ว เมืองแก้วของข้า “หละปูน”พารา งามต๋าพี้รี้
งามล้ำ”หละปูน” บริบูรณ์เต๋มที่ มหาธานี สมที่เฮาสร้าง
บ่อิดอ่อนเลย เหมาะสมทุกอย่าง ใหญ่โตโอฬาร เบิกบานใจ๋ข้า
63. พอใจ๋ทุกสิ่ง งามยิ่งเมืองฟ้า ที่ลอยลงมา บนดินเฮานี่
ขอบคุณหลวงหลาย สหายฤาษี ร่วมแรงที่มี เต๋มที่หื้อข้า
“อนุสิษฏ์ฤาษี” “สุกกะทันต๋า” ร่วมสร้างพารา สำเร็จจ๋นได้


ภาพที่ 6 เป็นภาพถ่ายทางอากาศให้เห็นเมืองลำพูนในปัจจุบัน


ภาพที่ 7 เป็นภาพของเจดีย์ของวัดพระคงฤาษีซึ่ง เป็นที่ประดิษฐานของรูปปั้นของฤาษีห้าตนที่มีส่วนร่วมในการ
สร้างเมือง”หริภุญไชย”จนแล้วเสร็จ ขอเชิญทุกท่านไปกราบไหว้สักการะขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคลกันได้. ที่วัดพระคงฤาษีอำเภอเมืองลำพูน

64. “ฤาษี”ตึงหมด ติดตรึงหัวใจ๋ หู้กั๋นทั่วไป “หละปูน”เมินมา
บ่มีวันลืม สหายเพื่อนข้า นับพันวัสสา เปิ้นมาอยู่หั้น
บ่ใช่ขี้อู้ หื้อไปดูกั๋น “วัดพระคง”นั้น ตั๋วต๋นเปิ้นมี
65. อันต๋นหนึ่งนั้น “สุเทพฤาษี” เก๊ากำกึ้ดที่ สร้างเมืองขึ้นมา
ท่านต๋นที่สอง “สุกกทันต๋า” เชิญเจ้าแม่มา ปกครองเมืองนี่
ต๋นถ้วนที่สาม “อนุสิษฏ์ฤาษี” นายช่างชั้นดี มีใจ๋เมตต๋า
66. ต๋นถ้วนสี่นั้น “สุพรหมสิทธา” ช่วยสร้างพารา เขลางค์เกิดมี
ต๋นห้าสุดท้าย “นารอทฤาษี” แป๋งพระมากมี ประจำเมืองมา
ตั๋วท่านเป๋นเค้า ของก๋านจัดหา ยอดพระเครื่องมา ฮักษาเมืองไว้
67. พระเครื่องชั้นยอด ไผก็อยากได้ ชื่อเสียงกว้างไกล๋ “พระกรุหละปูน”
มีคนใคร่หู้ “หริภุญไชย”กล๋ายสูญ ฮ้องเป๋น”หละปูน”
เป๋นไปอย่างใด เท่าที่สืบหู้ ต๋ำนานว่าไว้ มีที่มาไป ได้ข้อมูลมา

7.เหตุที่ชื่อเมือง“หริภุญไชย”เปลี่ยนไปถูกเรียกเป็น“หละปูน”และ”ลำพูน”

68. ชื่อ“หละปูน”นั้น ต๋ำนานเปิ้นว่า ฮ้องเปลี่ยนกั๋นมา มีว่าอย่างใด
สืบเนื่องมาก่อน จะแป๋งเมืองได้ มีเทวาไพร ตุ๊กก๋ายอยู่หั้น
แข้งขาบ่าดี รอจุตินั้น จะย้ายโดยพลัน บ่ทันได้ไป
69. อยู่ที่นูนสูง ดินพูนล้ำไกล๋ นูนสูงขึ้นไป ว่า“ล้ำปู้น”อั้น
จึงอู้กั๋นไว้ ฮ้องตั้ดที่หั้น ว่า“ล้ำปู้น“กั๋น ชื่อเมืองเปลี่ยนไป
ฮ้องกั๋นเนิ่นนาน เปลี่ยนคำขานไข ชื่อเพี้ยนเปลี่ยนไป เป๋น”ลำพูน”อี้
70. ยังมีแห๋มเรื่อง บอกกล่าวเล่าชี้ ครั้งหนึ่งเกิดมี “ปู่ลัวะ”ตั๋วยุ่ง
แค้นเคืองไผหวา เปี๋ยหอกมา“ปุ้ง” กล๋ายเป๋น“หละปูน” “ลัวะปุ้ง“ใส่นี่
ฮ้องกั๋นต๋ามใจ๋ ปากคนเฮานี้ ถ้อยคำวาที เปลี่ยนทุกเวลา
71. เรื่องที่จะเล่า พอจะเข้าท่า อยู่ในตำรา เนิ่นนานเปิ้นมี
เป๋นเรื่องถ้วนสาม เปิ้นว่าจะนี้ ถ้อยคำวาที ใบลานเอ่ยอ้า
อันแต่ก่อนนั้น ก่อน”เจียงใหม่”สร้าง “หละปูน”ยุท่าง ค้าขายไปมา
“ยุท่าง” หมายความว่าทำมาค้าขายสดวกสบาย “ ร่ำเปิง” คือรำพึงว่า

72. เจ็ดร้อยปี๋ผ่าน ไปเร็วบ่ช้า “มังรายผะญา” ฮิ ปองใคร่ได้
ได้ร่ำเปิงว่า เมืองใหญ่หนใต้ “หริภุญไชย” เป๋นจะใดหวา
จึงมีรับสั่ง ฮ้องพ่อค้ามา ไต่ถามเขาว่า “หริภุญช์”เป๋นใด
73. พ่อค้าเป๋นงง “หริภุญช์”ที่ไหน ว่าเป๋นเมืองใด บ่ใช่เมืองข้า
“หะริภุญไชย” เมืองใหญ่งามต๋า รุ่งเรืองนานมา เมืองข้าฮ้องอี้
“มังราย”ไค่หัว เอ่ยความกล่าวชี้ เฮาฮ้องเร็วรี่ เมืองนี้”หริภุญช์
74. ตัดคำว่า”หะ” ตั๋ว”ไชย “หายสูญ เหลือเป๋น”หริภุญช์” “หละปูน”ก็ได้
นับแต่นั้นมา มวลหมู่หน่อไท้ ฮ้องแปรเปลี่ยนไป “ลำพูน”ก็มี
แป๋งเมืองเสร็จแล้ว ทั้งสองฤาษี ปํญหาใหญ่มี ที่ต้องกึ้ดไว้
75. เสาะหาเจ้าครอง มองบ่หันไผ เป๋นเจ้าต๋นใหญ่ “หละปูน”เฮานี่
คัดกรองกั๋นแล้ว กอยผ่อถ้วนถี่ บุญไผจะมี อันเปิงใจ๋ข้า
จ๋นในที่สุด ของก๋ารค้นหา “สุกกทันต๋า” กึ้ดขึ้นมาได้

8. ฤาษีทั้งสองตกลงใจ ให้ขอ”พระนางจามเทวี” พระราชธิดา “พระเจ้ากรุงละโว้ “ มาขึ้นครองราชย์ใน”เมือง หริภุญไชย”

76. คงจะ บ่แคล้ว ธิดาหน่อไท้ ชื่อของทรามวัย “นางจ๋ามเทวี”
อยู่เมือง”ละโว้” เหมาะสมเต็มที่ ช่องทางพอมี เชิญนางมาได้
ควรจะอู้จ๋า ปรึกษาท่านไท้ บิดาทรามวัย เรื่องราวที่มี
77. จะต้องสรรหา ราชทูตกล่าวชี้ ทูลขอเทวี มาครองเมืองข้า
เปิ้นเป๋นเจ้าใหญ่ สูงเด่นล้ำฟ้า ราชธรรมราชา “ละโว้”ธานี
ทำก๋ารแต่งตั้ง “ควิยะ”เป๋นที่ ราชทูตผู้มี วาทีแกว่นกล้า
78. เตรียมก๋ารเรียบร้อย มุ่งไปตางหน้า “ สุกกทันต๋า “ หู้หนตางดี
ลงเรือกั๋นแล้ว นำโดย”ฤาษี” หมู่เรือนาวี มุ่งยังเมืองใต้
หลายเดือนก็ถึง เมืองงามท่านไท้ “ฤาษีเ”ข้าไป ถึงในวังหั้น


ภาพที่ 8 "สุกกทันตะฤาษี" นำทูตจาก ”หริภุญไชย” เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงละโว้ เพื่อทูลขอพระนางจามเทวีพระราชธิดาของพระองค์ไปครองเมือง ”หริภุญไชย”

80. เข้าเฝ้าถวาย ทูลรายงานนั้น “สุเทวะ”ท่าน แต่งทูตมานี่
องค์”พระราชา” รับรองเต๋มที่ โองก๋ารเปิ้นมี จัดรับรองทั่น
พักตางวันออก นอกเมืองเปิ้นนั้น ค่อยอู้จ๋ากั๋น รอวันฤกษ์ดี
81. ถวายพระพร แล้วท่าน”ฤาษี” ปิ๊กยังกุฎี รอทีอยู่หั้น
ถึงวันฤกษ์งาม ยามอันควรกั๋น นำทูตพร้อมสาส์น เข้าเฝ้า”ราชา”
ถวายสาส์นแล้ว เข้าอู้เจรจ๋า อันก๋านที่มา มีเหตุอย่างอี้
82. เรื่องมีอยู่ว่า “สุเทพฤาษี” เมตต๋าเปิ้นมี แป๋งเมืองขึ้นมา
ครั้นแป๋งเสร็จสรรพ เกิดมีปัญหา จะเลือกไผมา ปกครองกั๋นดี
กอนเลือกจาวบ้าน ปกครองแทนที่ ปัญหาเคยมี เอาดี บ่ ได้
83. บ้านเมืองล่มหมด บ่ ผดแผวไหน บ้านแตกบรรลัย ยุ่งไปถ้วนหน้า
พิจารณ์ กั๋นแล้ว ก็ได้กึ้ดหา “หน่อเนื้อ”ธรรมา” “ราชา”เฮานี่
ขอได้เมตต๋า เอื้อเฟื้อครั้งนี้ ขอ “จ๋ามเทวี” ไปครองพารา

9.”พระนางจามเทวี”ตัดสินพระทัย

84. มีความเหมาะสม เป๋นดีแต๊ว่า ได้แผ่กฤษฎา “ ราชาเมืองใต้”
ขยายอำนาจ รองบาทเทอดไท้ แผ่กว้างไปไกล๋ สุดแดนอาณา
“ ราชา”ฟังแล้ว ทรงพระเมตต๋า ทรงตรัสขึ้นมา ว่าเอาอย่างอี้
85. มีรับสั่งฮ้อง ลูกแก้วโฉมศรี “นางจ๋ามเทวี “ เข้าเฝ้าโดยพลัน
ทรงตรัสบอกว่า ราชทูตมากั๋น เพื่อขอลูกนั้น ไปครองพารา
“หริภุญไชย” เมืองใหม่ ไกล๋ต๋า ตางเหนือหั้นนา ลูกว่าอย่างใด
86. นางเป๋นกำกึ้ด นั่งนึกทำใจ๋ กึ้ดฮอดผ่อไป หนไกล๋ตางหน้า
จากพ่อ จากผัว ไปไกล๋สุดต๋า ปกครองพารา พงป่า นาเจ้า
กอนอยู่ตางนี้ เทวีก็เศร้า จาวเมืองหมู่เขา ผ่อเฮาอย่างใด
87. มีผัวอยู่แล้ว ดั่งแก้วขุ่นใจ๋ บ่ ได้เป๋นไป จิตใจ๋อ่อนล้า
ออกบวชเหียแล้ว ผัวฮักของข้า โศกตรมอุรา หนีราชภัย
ตัดสินใจ๋มั่น ไปอยู่หนไกล๋ ตางหน้าเป๋นไป ใจ๋มั่นที่ข้า
88. หื้อมันเสี้ยงสุด หยุดกับปัญหา ตัดสินใจ๋ลา เป๋นว่าจบกั๋น
เพื่อหื้อเบาใจ๋ ท่านพ่อเฮานั้น ตึงผัวฮักกั๋น สุขสันติ์อุรา
เป๋นเด็ด เป๋นขาด ไปอยู่ไกล๋ต๋า บ่มีไผมา ต่อว่าข้าได้
89. บ่ ใช่อ่อนด้อย ไปเพื่อเป๋นใหญ่ “หริภุญไชย” เมืองไกล๋ขอบฟ้า
ตัดสินใจ๋แล้ว จึงกราบทูลว่า สุดแต่บิดา เห็นว่าอย่างใด
“องค์พระราชา” เห็นลูกตัดใจ๋ จะต้องเป๋นไป ต๋ามใจ๋ลูกข้า

10. “พระเจ้าละโว้” ทรงตรัส สั่งสอน”พระนางจามเทวี”

90 จึงทรงสั่งสอน ลูกไปไกล๋ต๋า ปกครองพารา หื้อใจ๋มุ่งมั่น
จัดก๋านบ้านเมือง ในขอบเขตขัณท์ ยึดคุณธรรมมั่น เหนือยิ่งสิ่งใด
ก๋านเป๋น เจ้าคน นายคน หู้ไว้ เฮาต้องมีใจ๋ ธรรมาภิบาล
91. ปกครองไพร่ฟ้า บ่ ดีหักหาญ อดทนกับงาน ผ่อก๋านตางหน้า
บ่ ใช่เรื่องง่าย ถูกใจ๋ไพร่ฟ้า หื้อหันคุณค่า เปิ้นว่าเป๋นดี
เดินสายกล๋างไว้ บ่ เคร่งใช่ที่ อ่อนไปบ่ ดี กึ้ดผ่อเอาหั้น
92. ต๋ามข้อกฎหมาย ที่บัญญัติ นั้น ผิดถูกว่ากั๋น อันกฎหมายมี
เกิดข้อปัญหา หื้อเจ้าหน้าที่ เสนาบดี ที่มีอยู่หั้น
หน้าที่หมู่เขา ปัญหาเหล่านั้น พิจารณ์ช่วยกั๋น ตัดสินหื้อดี
93. อันก๋านปกครอง ใส่ใจ๋เต๋มที่ ทศพิธธรรมมี หื้อดีถ้วนหน้า
ลูกไปครั้งนี้ ต้องเตรียมจัดหา เอาหยังบอกมา พ่อจัดหื้อได้
ฟังพ่อสอนสั่ง นางจ๋ามดีใจ๋ ใคร่ได้สิ่งใด ทูลขอพ่อเจ้า
94. ค่อยปรึกษากั๋น ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ว่าควรจะเอา อะหยังขึ้นไป
ก่อนอื่นสิ่งแรก ขอด้วยหัวใจ๋ องค์แทนท่านไท้ “ องค์พระบิดา”
“ พระเจ้า ละโว้ *1 ขอไปไหว้สา กอนกึ้ดเติงหา “ไหว้สา พ่อเจ้า”
95. อันหนึ่งได้แล้ว อุ่นใจ๋ข้าเจ้า “พระแก้วขาว” เฮา *2 บูชากั๋นนี่
ชื่อของเปิ้นนั้น “เสตังคมณี” องค์พระแก้วนี่ เชิญไปบูชา
เป๋นพระศักดิ์สิทธิ์ ประจ๋ำตั๋วข้า คุ้มครองพารา อยู่รอดปลอดภัย
96. พระองค์ที่สาม เป๋นหินองค์ใหญ่ เปิ้นงามผ่องใส มีต๊าววันนี้*3
เปิ้นฮ้องกั๋นว่า “พุทธสิกขี”*4 ความหมายเปิ้นมี เป๋นพยานข้า
หื้อหู้กั๋นไว้ ตั๋วข้าเชิญมา หื้อคนไหว้สา อยู่รอดปลอดภัย
97. ต่อมาฮ้องกั๋น “แม่พระรอด”ไว้ บูชาปลอดภัย สิ่งร้ายนา นา
สามสิ่งอยากได้ สมใจ๋ของข้า ของอื่นนั้นนา ค่อยว่ากั๋นไป
จักได้เตรียมก๋าร หนตางยาวไกล๋ บรรทุกเรือไป เมืองเหนือที่หั้น
98. “องค์พระบิดา” มอบหลายสิ่งสรร ทุกอย่างสำคัญ ล้วนแต่ของดี
“พระไตรปิฎก” “สมณะฤาษี” “โหราจารย์”มี “วิศวะ” “ ช่างปั้น”
“จาวหมู่คนหลวก” “ครูอาจารย์”นั้น “โยธา”ช่วยกั๋น พร้อม”แพทย์”เป๋นต้น
99. อย่างละ”ห้าร้อย” นำไปมากล้น มุ่งก๋านทุกคน หื้อเมืองแข็งกล้า
เอ็นดู”ลูกสาว” จากไปไกล๋ต๋า ในใจ๋”บิดา” กึ้ดหาแล้วเศร้า
อันตั๋วข้านี้ พรากผัว ลูกเขา บัญชาหื้อเอา ผัวเขามานี่
100. หื้อลาสิกขา “ลูกจาย”ข้านี้ *5 หื้อไปเป๋นที่ “อุปะราชา”
ครอง”รามนคร” เมืองลูกหลวงข้า เคียงคู่กั๋นมา “ละโว้ธานี”
เป๋นก๋ารตอบแทน ล้างอายครั้งนี้ เพื่อหื้อเทวี มั่นใจ๋ขึ้นมา


ภาพที่ 9 เป็นภาพของ”พระเจ้าละโว้”ที่พระนางจามเทวีทรงอาราธนาอัญเชิญไปพื่อกราบไหว้บูชาเปรียบเสมือนองค์แทนของพระราชบิดาพระราช มารดาครายามคิดถึง

*1. พระเจ้า ละโว้ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสำริด ศิลปะละโว้ ลพบุรี ประทับยืนปางประทานพร พระนางจามเทวีทรงเปรียบไว้เสมือนเป็นองค์แทนของพระราชบิดา ไว้เพื่อบูชายามที่พระนางรำลึกถึงพระราชบิดาพระราชมารดาและบ้านเกิดเมืองนอน
ปัจจุบันมีให้ได้เห็นในสภาพชำรุดอยู่ในพิพิธภัณท์แห่งชาติหริภุญไชยรอการบูรณะสร้างขึ้นใหม่แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดสนใจ จะคิดทำกัน คงจะต้องรอผู้มีบุญมาเกิดโน่น ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าละโว้ วัดพระธาตุหริภุญไชยนั้นเป็นพระพุทธรูป ศิลปะเชียงใหม่ ตามตำนานเมืองเชียงใหม่ระบุไว้ว่า พระเจ้ากาวิละโปรดให้สร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ขึ้นประดิษฐานในวิหารแทน.

*2. พระแก้วขาวหรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปแก้วหินสีขาวปางมารวิชัย ที่พระนางจามเทวี ทรงอัญเชิญมาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อสักการะบูชาโดยตลอดของราชวงศ์จามเทวี ต่อมาภายหลังพระยามังรายกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ยกกองทัพตีเมืองลำพูนได้ ทรงประจักษ์ถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฎให้พระองค์ได้เห็น จึงทรงนำเอาไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ที่เมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันพระแก้วขาวประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดเชียงมั่นอำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งวัดนี้เคยเป็นพระราชวังของพระยามังราย มาก่อน ทางวัด”พระธาตุ หริภุญชัย”ลำพูนได้สร้างพระแก้วขาวองค์จำลองไว้แทน โดยประดิษฐานไว้ในวิหารหลวงของวัด

*3. มีต๊าววันนี้ หมายความว่ามีจนถึงปัจจุบันนี้

ภาพที่ 10 เป็นภาพของพระ”เสตังคมณี” หรือ”พระแก้วขาว”องค์จริงที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารของวัด”เชียงมั่น”อำเภอเมืองเชียงใหม่


ภาพที่ 11 พระ”เสตังคมณี” องค์จำลองประดิษฐานในวิหารหลวงวัดพรมธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน

ภาพที่ 12 เป็นภาพของพระพุทธสิกขีปฏิมาหรือแม่พระรอด ที่ประดิษฐาน อยู่ตรงเบื้องหน้าพระประธานในวิหารของวัดมหาวันลำพูน

*4.พระพุทธสิกขีปฏิมา หรือ”แม่พระรอด” เป็นพระพุทธรูปหินแกะปางสมาธิ ศิลปะทวาราวดี ที่พระนางจามเทวีอัญเชิญมาพร้อมๆกับ “พระเจ้าละโว้ “ “พระเสตังคมณี “ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ตรงหน้าพระประธานวิหารวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พระประธานของวัดมหาวันนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้าสรรพสิทธิ์ธรรมิกราชกษัตริย์ลำดับที่ 30 มีพุทธศิลป์ที่สวยงามองค์หนึ่ง ในบรรดาพระประธานทั้งหมด ในเมืองลำพูน

*5. ลูกจายข้านี้ หมายความถึงลูกเขย ในที่นี้หมายถึงพระสวามีของพระนางจามเทวี
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------